วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การทำถุงหอมสมุนไพรบุหงารำไป


ถุงหอมสมุนไพรบุหงารำไป 






 



การใช้กลีบดอกไม้แห้ง ใบไม้แห้ง เมล็ดอบแห้ง หรือบางส่วนของต้นไม้ ชนิดที่เลือกแล้วว่าใช้ทำบุหงารำไปได้ จากนั้นนำมาประพรมด้วยกลิ่นหอมที่ต้องการ ดอกไม้แห้งบางชนิด มีกลิ่นหอมโดยไม่ต้องพรมน้ำหอม แต่มักไม่นิยม เพราะดอกไม้แห้งจะกลิ่นเบาบางเกินไป การใช้ก็เพียงแต่เอาบุหงารำไป วางไว้ในห้องที่ต้องการ กลิ่นหอมจะส่งกลิ่นอบอวนไปทั้งห้อง





วัสดุและอุปกรณ์สำหรับทำบุหงารำไป



  • ดอกไม้แห้งและเครื่องเทศต่างๆ
  • ก้อนหินสวยๆ สำหรับตกแต่ง
  • ขวดโหลหรือภาชนะมีฝาปิด
  • น้ำมันหอมระเหย

วิธีการทำบุหงารำไป



  1. เลือกดอกไม้แห้ง จะเป็นดอกไม้ประเภทไหนก็ได้แล้วแต่ความชอบ อย่างเช่น กุหลาบ ลาเวนเดอร์ หรือเครื่องเทศต่างๆ อย่างเช่น โรสแมรี หรือกานพลู ที่สำคัญคือทั้งหมดนี้ต้องแห้งสนิท
  2. นำดอกไม้แห้งใส่ลงในภาชนะ หยดน้ำหอมระเหยลงไป 2-3 หยด ส่วนจะเป็นกลิ่นอะไรนั้นก็แล้วแต่ความชอบ จากนั้นปิดฝา ทิ้งไว้ 2-3 สัปดาห์ให้ดอกไม้แห้งดูดซึมกลิ่นหอม 
  3. เมื่อครบกำหนด เปิดฝาสามารถนำออกมาใช้ได้เลย จะจัดวางในขวดโหล แล้วนำไปวางไว้ตามมุมต่างๆ ในบ้านก็ได้ หรือจะใส่ในถุงผ้าขนาดเล็กเย็บสวยๆ เพื่อมอบเป็นของขวัญของที่ระลึกก็เหมาะมาก











ขอบคุณแหล่งความรู้วิธีการทำบุหงารำไปจาก http://www.blisby.com/blog/diy-potpourri/






วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สรุปผลการทดลอง การทำสบู่ก้อนแบบขุ่นและแบบใส



การทำสบู่ก้อนแบบใสและแบบขุ่น




สบู่ คืออะไร
สบู่ก้อน คือ ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดช่วยในการชําระล้างสิ่งสกปรกมีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะเป็นก้อน สามารถทําความสะอาดได้ดีเกิดฟองมาก มีกลิ่นหอม สบู่เกิดจากปฏิกิริยาของกรดไขมัน (น้ำมัน)กับด่าง (โซเดียมไฮดรอกไซด์) หรือ โซดาไฟมแล้วเกิดเป็นก้อนและทิ้งไว้ประมาณ 15 – 30 วัน เพื่อให้ pH หรือความเป็นด่างลดลงจนอยู่ในช่วงที่ไม่เป็นอันตรายต่อผิวพรรณ การเลือกกรดไขมันหรือน้ำมันในการทำปฏิกิริยากับโซดาไฟ จะให้ผลของสบู่ที่แตกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของฟอง ความนุ่ม การชะล้างการถนอมผิว



วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตสบู่ก้อน มีดังนี้
  1. ไขมันและน้ำมันที่มาจากสัตว์หรือพืช เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันละหุ่ง ไขจากวัวและกรดไขมันบางชนิด
  2. ด่าง เป็นตัวทําปฏิกิริยากับกรดไขมันที่อยู่ในไขมันทําให้เกิดเป็นสบู่ เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ และโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
  3. น้ำหอม ทําหน้าที่ปกปิดกลิ่นของส่วนประกอบต่างๆ และทําให้สบู่มีกลิ่นหอมน่าใช้ที่นิยมคือกลิ่นดอกไม้ เช่น กลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นกุหลาบ และกลิ่นมะลิ
  4. สารแต่งสี ตัวอย่างเช่น เหล็กออกไซด์ โครเมียมออกไซด์ คลอโรฟิลด์ ชินนาบาร์ อัลตรามารีนกรีน และอัลตรามารีนบลู
  5. สารลดความกระด้างของน้ำ ซึ่งสามารถช่วยลดความกระด้างของน้ำ เพื่อเพิ่มความสามารถในการทําความสะอาด โดยจะจับอนุภาคโลหะหนักและสิ่งสกปรก ที่เป็นอุปสรรคต่อการทําความสะอาด
  6. นอกจากนี้ยังป้องกันการเสื่อมของผลิตภัณฑ์ เช่น สี และกลิ่น ตัวอย่างสารลดความกระด้างของน้ำ ได้แก่ อีดีทีเอ และโพลีฟอสเฟต 
  7. สารปรับสภาพ เพื่อความชุ่มชื่นแก่ผิว เช่น ลาโนลิน กลีเซอรีน และกรดไขมันสารต้านออกซิเดชัน เพื่อป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชันของกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น วิตามินอีและ Acorbyl Palmita
  8. สารยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของกลิ่นตัว เช่น ไตรโครซาน ครีซอลและฟีนอล
อุปกรณ์ที่ใช้มีดังนี้

1.หม้อสแตนเลส


ใช้ในการตุ๋นเบสสบู่กลีเซอรีน


2.แม่พิมพ์ซิลิโคน





ใช้สำหรับการพิมพ์สบู่ให้เป็นรูปร่างตามแบบแม่พิมพ์ที่เราต้องการ




3.กระทะ


ใช้สำหรับให้ความร้อน เพื่อละลาย หรือตุ๋นเบสสบู่กลีเซอรีน




4.แผ่นฟิล์มถนอมอาหาร


ใช้สำหรับห่อหุ้มสบู่เมื่อแข็งตัวเป็นก้อนแล้ว




6.สลิงค์


ใช้ดูด,ตวง เพื่อวัดปริมาณส่วนผสมต่างๆ




7.กระบวย ทัพพี หรือ ช้อน



ใช้คนสารสบู่เบสกลีเซอรีนให้เข้ากั




8.แอลกอฮอล์ฉีดสบู่


ใช้ฉีดไล่ฟองสบู่




9.เขียงและมีด


ใช้สำหรับหั่น หรือ ตัดแต่งส่วนเกินของสบู่



วัตถุดิบและส่วนประกอบต่างๆ

  1.เบสสบู่กลีเซอรีนแบบขุ่นและแบบใส 1 กิโลกรัม




2.สารสกัดทับทิม ช่วยให้ผิวเต่งตึง 

ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระให้แก่ผิว

 
 

วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การทำสบู่ก้อนขุ่นและก้อนใส






สบู่ เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดร่างกายที่ได้จากปฏิกิริยาของด่างกับไขมันจากพืชหรือสัตว์ ปัจจุบัน สบู่มีการใช้ส่วนผสมชนิดต่างๆเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของสบู่ให้มีลักษณะพิเศษ ตรงตามความต้องการใช้งานที่หลากหลายขึ้น

ชนิดของสบู่


1. สบู่ก้อนขุ่น

มีลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาวขุ่นหรือมีสีต่างๆ ตามสีของสารเติมแต่ง เช่น สีเขียว สีชมพู สีม่วง เป็นต้น สบู่ชนิดนี้ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่ผลิตได้จากปฏิกิริยาข้างต้นเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต ที่ให้คุณสมบัติเป็นก้อนแข็ง ขาวขุ่น ให้ฟองมาก



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




2. สบู่ก้อนใส

ก้อนสบู่จะมีลักษณะอ่อนกว่าสบู่ก้อนขุ่น และสามารถทำให้เกิดสีใสต่างๆตามสารให้สีที่เติมผสม สบู่ชนิดนี้จะให้ฟองค่อนข้างน้อยกว่าสบู่ก้อนขุ่น เนื่องจากมีส่วนผสมของกลีเซอรีนเป็นส่วนใหญ่ สารตั้งต้นที่ใช้อาจเป็นกลีเซอรีนเหลวหรือกลีเซอรีนก้อน (กลีเซอรีนเหลว+เอทิลแอลกอฮอล์) ร่วมด้วยกับสารเติมแต่งชนิดต่างๆ



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สบู่ก้อนขุ่น




3. สบู่เหลว
เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่มีน้ำเป็นส่วนผสมทำให้เนื้อสบู่เหลว สีสีสันต่างๆตามสารเติมแต่ง สบู่ชนิดนี้ใช้สารตั้งต้นจากเกล็ดสบู่ (soap) ที่ได้จากปฏิกิริยาข้างต้นเหมือนชนิดสบู่ก้อนขุ่น แต่ต่างกันที่จะใช้ด่างเข้มข้นโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์แทนโซเดียมไฮดรอกไซด์ เพราะจะให้เนื้อสบู่อ่อนตัวดีกว่า



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สบู่เหลว









อุปกรณ์ในการทำสบู่ก้อน ใส-ขุ่น



1.บล็อกพิมพ์ซิลิโคน





2.เบสกลีเซอรีนแบบขุ่นและแบบใส




3.สารเคมีแต่งกลิ่นตามชอบ เช่น กลิ่นมะพร้าว


กลิ่นมะพร้าว





5.สารสกัดจากสมุนไพรหรือดอกไม้นานาชนิดตามที่เราต้องการให้สูตรสบู่มีส่วนผสมอะไร
เช่น ช่วยบำรุงผิวขาวใส สารสกัดจาก มะเขือเทศ 
ช่วยบำรุงผิวชุ่มชื่น ใช้สารสกัดจากแตงกวา ว่านนหางจระเข้
ช่วยบำรุงผิวให้เต่งตึง ขาวใส ใช้สารสกัดจาก ทับทิม เป็นต้น






ขั้นตอนการทำสบู่ก้อน

  •  นำเบสกีลเซอรีนสบู่ ใส่ในหม้อภาชนะ ตั้งไฟอ่อนๆให้ละลายจนหมด
  •  เติมสมุนไพร หากเป็นผงประมาณไม่เกิน 50 กรัม หากเป็นน้ำสกัดไม่เกิน 100 ซีซี
  •  เติมสารเติมแต่ง เช่น น้ำหอม ผงสี และอื่นๆตามที่หาซื้อได้ พร้อมคนให้ละลายเข้ากัน
  •  เทสารละลายสบู่ในแม่พิมพ์ และรอจนแห้งตัวก็จะได้สบู่สำหรับใช้งาน

ขั้นตอนการดาวน์โหลดโปรแกรม SketchUp2017


ขั้นตอนการติดตั้งโปแกรม SketchUp 2017


1.เปิดหน้าต่าง Google พิมพ์ ดาวน์โหลด SketchUp 2017 ฟรี




2.กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบ เป็นภาษาอังกฤษ








3.กด Download SketchUp






4.จะมีหน้าต่างถามยืนยันการติดตั้งโปรแกรม ให้กด Yes







5. กด Install จากนั้นคอมพิวเตอร์จะติดตั้งโปรแกรม สามารถใช้โปรแกรมทำงานได้ทันทีหลังจากติดตั้งเสร็จ


การสอบกลางภาค ภาคเรียนที่1/2560


การสอบกลางภาค  ภาคเรียนที่ 1/2560


วิชา การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์


แบบทดสอบภาคปฏิบัติ วิชา ARTD3302 การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

คำชี้แจง : จงอ่านโจทย์ที่ตั้งไว้ให้เข้าใจและสร้างสรรค์เป็นผลงาน ที่สื่อแสดง ถึงทักษะและความเชี่ยวชาญ
ตามภาระงานทางวิชาชีพนักออกแบบของตัวคุณเอง เวลารวมสอบ 120 นาที คะแนนเต็ม10 คะแนน
(คะแนนจริง 5 คะแนน) เกณฑ์การประเมินผลทางทักษะดังนี้คือฃ


1. การออกแบบโครงสร้าง ทักษะการใช้งานโปรแกรมสร้างสรรค์ 2 คะแนน
2. การออกแบบกราฟิก ทักษะการใช้งานโปรแกรมสร้างสรรค์ 2 คะแนน
3. ต้นแบบกราฟิกอาร์ตเวิร์ค ทักษะวิชาชีพศิลปกรรม 2 คะแนน
4. การนำเสนอและเผยแพร่ ทักษะวิชาชีพศิลปกรรม 2 คะแนน
5. การจัดการงานผ่านระบบไอซีที ทักษะวิชาชีพศิลปกรรม 2 คะแนน

โจทย์สอบภาคปฏิบัติ
เกษตรกรชาวสวนสารพัดดี จังหวัดชัยนาท มีความประสงค์ขอให้นักศึกษาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ช่วยออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าตัวใหม่คือ ชาตะไคร้ใบเตย โดยมีความต้องการงานออกแบบให้ตามข้อมูลพื้นฐาน
ดังนี้คือ

1. มีตราสัญลักษณ์สินค้าที่ ผศ.ประชิด ทิณบุตร ออกแบบให้แล้ว ใช้เป็นยี่ห้อตราสินค้าและต้องการใช้ชื่อ
ผลิตภัณฑ์ใหม่ (Product Name) ว่า ชาตะไคร้ใบเตย และต้องการให้มีภาษาอังกฤษใต้ชื่อผลิตภัณฑ์นี้ด้วย
2. มีบรรจุภัณฑ์เป็นกระป๋องกระดาษ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 80 มม สูง 120 มม.
3. กราฟิกบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการคือ ฉลากพิมพ์หรือสติ็กเกอร์ปิดรอบตัวกระป๋อง โดยมีลวดลายพื้นที่มีที่มาจาก
การใช้ทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดชัยนาทเป็นแรงบันดาลใจ
4. ต้องการไฟล์ต้นแบบอาร์ตเวิร์คเป็น .ai สี่สี ที่พร้อมส่งโรงพิมพ์ File ภาพถ่าย ภาพประกอบที่นำมาใช้ต้องมี 
Resolutions ไม่ต่ำกว่า 300 dpi และเป็นภาพที่อนุญาตให้ใช้งานได้ฟรีหรือมีลิขสิทธิ์ถูกต้อง หรือสร้างสรรค์
ดัดแปลงขึ้นมาเอง
5. ต้องการไฟล์ภาพแสดงมุมมองเสมือนผลิตภัณฑ์จริงไฟล์ 3D sketchup พร้อมบอกขนาด - มิติเท่าจริง
สามารถดูได้รอบด้าน ทุกมุมมอง ที่แสดงแบบกราฟิกบนกระป๋องครบถ้วน 

6. จัดเก็บไฟล์ทั้งหมดขึ้นไว้ใน Google Classroom ที่ผู้สอนแชร์ให้และส่งภายในเวลาที่กำหนด








ตราสัญลักษณ์ (LOGO)